17 กรกฎาคม 2553


“การท่องเที่ยวสัมพันธ์กับ.............อะไร?” ”
-การเดินทาง ไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ
-การไปร่วมกิจกรรมบางอย่าง ....เยี่ยมเยือนญาติมิตร ....ประชุม....
-ชาวต่างประเทศ สะพายกระเป๋า เดินอยู่กลางถนน
-ชาวต่างประเทศ นอนอาบแดดอยู่ริมชายหาด

การประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องของการเดินทางและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ที่ กรุงโรม ประเทศอิตาลี พ.ศ.
-องค์การการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ
(The International Union of Official Travel organizations: IUOTO)
-เปลี่ยนชื่อเป็น World Tourism Organization, WTOพ.ศ.2513
- เสนอคำจำกัดความของการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว Tourismพ.ศ.
ต้องมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการตามข้อตกลงการประชุมขององค์การสหประชาชาติ หมายถึง
๑.การเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
๒.เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ
๓.เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามที่มิใช่เพื่อการประกอบอาชีพหรือหารายได้

ตัวอย่างการเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยว
•การเดินทางไปจาริกแสวงบุญ อาทิ แม่พลอยไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัด สระบุรี , คุณเปรมไปทอดกฐิน
•การเดินทางไปพักฟื้น หรือรักษาตัว ณ สถานที่ต่างๆ
•การเดินทางไปร่วมชมการแข่งขันกอล์ฟที่ต่างประเทศ
•การเดินทางไปร่วมประชุมต่างๆ เยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง เป็นต้น

ตัวอย่างการเดินทางที่ไม่จัดเป็นการท่องเที่ยว
•การเดินทางไปตั้งถิ่นฐานถาวรในต่างประเทศ
•การเดินทางไปประกอบอาชีพ ด้วยรถ ๖ ล้อ จากชายแดนเมืองกาญจนบุรี หรือไปทำงาน ต่างประเทศUAE
•การเดินทางโดยไม่เต็มใจ อาทิ การเดินทางด้วยการถูกบังคับ/ ลี้ภัยทางการเมือง ล่อลวง ขู่เข็ญ

จากนิยามการท่องเที่ยวของการประชุมในพ.ศ.2506(Holloway J. Christopher)
•ให้เรียกผู้ที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวว่า ผู้เยี่ยมเยือน (Visitor)
จำแนกเป็น
๑.นักท่องเที่ยว (Tourist)
๒.นักทัศนาจร (Excursionist)

การจำแนกประเภทของผู้มาเยือน
การแบ่งตามช่วงเวลาที่ใช้ไปในการไปเยือนและมีการพักค้างคืน ณ สถานที่ที่ไปเยือนนั้น แบ่งออกเป็น
นักท่องเที่ยว (Tourist) หมายถึง ผู้ที่มาเยือนชั่วคราว ซึ่งพักอยู่ ณ สถานที่ที่ไปเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และมีการพักค้างคืนอย่างน้อย 1 คืน แต่ไม่เกิน 1 ปี ได้แก่
-ผู้ที่ไม่มีถิ่นพำนักอยู่ในสถานที่ที่ไปเยือน
-ผู้ที่มีสัญชาติของประเทศนั้นหรือเดิมเป็นคนในถิ่นนั้น แต่ปัจจุบันไม่ได้มีถิ่นพำนักในสถานที่ที่ไปเยือนแล้ว
-ผู้ที่เป็นลูกเรือ ซึ่งไม่มีถิ่นพำนัก ณ สถานที่ที่ไปเยือน และมีการค้างคืน ณ สถานที่ที่ไปเยือน

นักทัศนาจร (Excursionist)
คือผู้มาเยือนชั่วคราว ซึ่งพักอยู่ ณ สถานที่นั้นน้อยกว่า 24 ชั่วโมง และไม่พักค้างคืน ได้แก่
-ผู้โดยสารเรือสำราญหรือเรือเดินสมุทร ซึ่งมาแวะพักชั่วคราว ไม่พักค้างคืน
-ผู้ที่มาเยือนและจากสถานที่นั้นภายในวันเดียว (same-day visitor)-ลูกเรือ ที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่อาศัย ณ สถานที่นั้นๆ และแวะพักเพียงชั่วคราว ไม่เกิน 24 ชั่วโมง G3/6 (28/5/08
แบ่งออกเป็น
-ผู้มาเยือนขาเข้า (inbound visitor) คือผู้ที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศและเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศอีกครั้งหนึ่ง
-ผู้มาเยือนขาออก (outbound visitor) คือผู้ที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศหนึ่ง และเดินทางไปท่องเที่ยวที่ต่างประเทศ
-ผู้มาเยือนภายในประเทศ (domestic visitor) คือผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนมีถิ่นพำนักอยู่
**อาจเรียก inbound visitor และ domestic visitor ว่า ผู้มาเยือนในประเทศ internal visitor ได้

ไปชาร์จแบตกันที่ทะเลไหม เหนื่อยมาทั้งอาทิตย์แล้ว
อยากไปเที่ยวตามรอยแดจังกึม/
ซอนต๊อคจังเลย
เคยได้ยินหรือคิดแบบนี้ไหม
แม่ไปตีกอล์ฟที่มาเลเซียอีกแล้ว เฮ้อ
ไปส่องสัตว์กันดีกว่า จะได้หาทางอนุรักษ์สัตว์เหล่านั้นด้วย

วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว
มนุษย์เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวด้วยความต้องการและเป้าหมายที่แตกต่างกันไป เช่น พักผ่อน ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ช้อปปิ้ง เป็นต้น
แบ่งเป็นหลักใหญ่ๆดังนี้
Holiday Business SIT
การท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน
(Holiday)
ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน เป็นจุดมุ่งหมายหลักของการท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวมีวันหยุดที่จำกัด ดังนั้นจึงพยายามไม่เอาหน้าที่การงาน ความจำเจของชีวิตประจำวันมาเกี่ยวข้อง การเดินทางไปอาบแดด เล่นน้ำตก สวนสนุก เป็นต้น

การเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนญาติมิตร (Visiting Friends and Relatives: VFR)
การท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ (Business)
แม้ว่าการท่องเที่ยวทางธุรกิจดูเหมือนจะมีจุดมุ่งหมายในการทำงาน แต่การทำงานนั้นเป็นเพียงกระบวนการในการสร้างรายได้ในอนาคต อาทิ การติดต่อทางการค้า การประชุม เป็นต้น แบ่งออกเป็น
- การเดินทางเพื่อธุรกิจโดยทั่วไป
- การเดินทางเพื่อการประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล สัมมนา และจัดแสดงนิทรรศการนานาชาติ ( MICE )
** Mice กำลังเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

การท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษ
Special Interest Tourism
เป็นการตอบสนองควยามต้องการของนักท่องเที่ยวในระดับที่ซับซ้อนมากขึ้น จากแค่เพียงต้องการพักผ่อน เพลิดเพลิน นักท่องเที่ยวต้องการที่จะเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณี ธรรมชาติ ในระดับที่ลึก เป็นต้น

ประเภทการท่องเที่ยว
แบ่งตามสากล
1.การท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic Tourism)
2.การท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ (Inbound Tourism)
3.การท่องเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Tourism)

แบ่งตามลักษณะการจัดการเดินทาง
1.ท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะ(Group Inclusive Tour: GIT)
1.1 กรุ๊ปเหมา
1.2 กรุ๊ปจัด
2. การท่องเที่ยวแบบอิสระ (Foreign Individual Tourism: FIT)
Package Tour

แบ่งตามวัตถุประสงค์การเดินทาง
1.เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน
2.เพื่อธุรกิจ
3.เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ

รูปแบบของการท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษ
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา
การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา
การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์

การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม
เป็นการท่องเที่ยวเพื่อต้องการศึกษาวัฒนธรรมของประเทศหรือสถานที่ที่ตนเองไปเยี่ยมเยือน เพราะวัฒนธรรมเหล่านั้นมีความแตกต่างไปจากวัฒนธรรมของตนเอง ซึ่งโดยส่วนมากมักจะเป็นสิ่งที่จับต้องได้ มองเห็น เป็นวัตถุหรือเป็นการแสดง เป็นต้น
ชมตลาดน้ำ ชมการรำไทย มวยไทย
การชมวัด ชมวัง
อุทยานประวัติศาสตร์

การท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสุขภาพ
จุดมุ่งหมายเพื่อบำบัดโรค บำรุงสุขภาพกายและใจ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
-การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism)
-การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sport Tourism)
-การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย (Adventure Tourism)

การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา
เป็นการท่องเที่ยวเพื่อต้องการเรียนรู้ โดยมีการจัดการ การวางแผนล่วงหน้า มีครูผู้สอนที่ชำนาญ และมีการฝึกหัดทำตามแบบแผน ซึ่งจะเน้นที่การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
อาทิ
การเรียนทำอาหารไทย การเรียนรำไทย การเรียนภาษาไทย
การดูดาว การเรียนดำน้ำ ฯลฯ

การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์
เป็นการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการเข้าไปสัมผัสกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มคนต่างๆ โดยตรงเพื่อให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
มิใช่ผ่านวัตถุหรือการแสดงที่จัดขึ้น
อาทิ การเยี่ยมชมหรือพำนักกับชาวไทยภูเขา ชาวบ้านพื้นเมือง Home stay ฯลฯ





*ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
WWW.lss.dpu.ac.th
จัดทำโดย
นางสาวชาลิณี มีมา
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น